วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ดอกไม้ประจำชาติ


ดอกไม้ประจำชาติของบรูไน
                                   
       ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
ดอกไม้ประจำชาติของกัมพูชา
                                   
       กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ
ดอกไม้ประจำชาติของอินโดนีเซีย
                                   
       ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
ดอกไม้ประจำชาติของลาว
                                    
       ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย
ดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซีย
                                  
       สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย
ดอกไม้ประจำชาติของฟิลิปปินส์
                                    
       ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วยเช่นกัน
ดอกไม้ประจำชาติของสิงคโปร์
                                  
      ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)
ดอกไม้ประจำชาติของไทย
                                  
       ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น
ดอกไม้ประจำชาติของเวียดนาม
                                    
      ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง
ดอกไม้ประจำชาติของพม่า
                                     
       ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ่

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน














 ดอกไม้ คือสัญลักษณ์แห่งความสวยงามจากธรรมชาติ ใครที่กำลังจะจัดสวนหรือชื่นชอบความงามของดอกไม้ โฮมเดคขอนำไปรู้จักกับดอกไม้ประจำชาติอาเซียนค่ะ สำหรับ AEC (Asean Economics Community) หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการรวมตัวกันของ 10 ชาติ Asean ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม เพื่อให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน มีอำนาจต่อรองต่างๆกับประเทศคู่ค้ามากขึ้น ซึ่งจะรวมตัวเป็น AEC กันอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ที่จะถึงนี้ค่ะ

ดอกบัวสื่อถึงความบริสุทธิ์





    ดอกบัวเป็นพืชน้ำ ล้มลุกชนิดหนึ่งค่ะ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในน้ำจืดและสะอาด               นอกจากนี้บัวยังเป็นราชินีแห่งพืชน้ำ และเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี   
เราจะเห็นว่าดอกบัวมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวพุทธมากเลยค่ะ เพราะว่าดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าค่ะ ถ้าดูจากภาพพุทธประวัติจะเห็นว่าตอนประสูติจะมีดอกบัวรองรับพระบาททุกย่างก้าวที่พระองค์เดิน เมื่อตอนตรัสรู้ก็มีดอกบัวผุดออกมารองรับ และสุดท้ายตอนปรินิพพานก็มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับสังขารของพระองค์เช่นกัน แถมนิดนะคะ มีตำนานเล่าไว้ด้วยว่าหมอชีวกโกมานภัจจ์ได้ปรุงยาที่ทำจากดอกบัวถวายพระพุทธเจ้าด้วยค่ะ
นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังเปรียบเทียบมนุษย์ไว้ว่ามีสี่เหล่าเช่นเดียวกับดอกบัว อย่างที่เราเรียกกันติดปากว่า บัวสี่เหล่า” นั่นเองค่ะ เพราะเหตุนี้เองชาวพุทธเลยถือว่าดอกบัวโดยเฉพาะดอกบัวหลวงเป็นดอกไม้ที่บริสุทธิ์และเป็ดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ ชาวพุทธเลยนิยมนำดอกบัวมาไหว้พระ และใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาค่ะ
ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ก็ถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์เช่นกันค่ะ เพราะถือกันว่าบัวเป็นพืชชนิดแรกที่เกิดมาบนโลก และเป็นดอกไม้ของผู้มีบุญ(มีตำนานเล่าไว้ว่าดอกบัวได้ผุดออกมาจากหน้าผากของพระนารายณ์ค่ะ) ดังนั้นเราจะเห็นว่าตำนานเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจะมีคอกบัวเข้าไปข้องเกี่ยวอยู่เสมอค่ะ
สำหรับชาวจีนดอกบัวก็ถือเป็นดอกไม้มงคลเช่นกันค่ะ ชาวจีนโบราณนิยมนำภาพวาดรูปดอกบัวมาเป็นของขวัญให้กันเพื่อความเป็นสิริมงคล
เห็นว่าทางแถบตะวันออกดอกบัวหลวงจะเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าเป็นทางประเทศอียิปต์แล้วดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์จะเป็นดอก บัวสายนั่นก็เพราะว่าดอกบัวสายจะขึ้นอยู่ที่แม่น้ำไนล์ ที่เป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอียิปต์โบราณ ดังนั้นจึงมีความเชื่อว่า ดอกบัวจึงได้รับการชำระล้างจนบริสุทธิ์แล้ว  เห็นได้จาก ตามภาพสลักตามฝาผนังที่มีดอกบัวมาเกี่ยวข้องเสมอ นอกจากนี้ชาวอียิปต์จะเอาดอกบัววางไว้ที่มัมมี่เพื่อเป็นเคล็ดให้ผู้ตายกลับมาเกิดใหม่เร็วๆนั่นเองค่

ดอกไม้ที่สื่อของความรัก





   

  




    รูป รูปดอกกุหลาบ วาเลนไทน์ รับเทศกาลแห่งความรักวันวาเลนไทน์ รูปดอกกุหลาบ วาเลนไทน์ ภาพ รูปดอกกุหลาบ วาเลนไทน์ รับเทศกาลแห่งความรักวันวาเลนไทน์ ที่แสนหวานสำหรับคู่รักทุกเพศทุกวัย รูปเซตนี้ขอรวมเอา รูปดอกกุหลาบ วาเลนไทน์ สวยๆน่ารักโรแมนติก มาฝากเพื่อนๆ ที่กำลังมีความรักอยู่ในขณะนี้ จะได้เอาไปฝากให้คนที่รัก ในวันวาเลนไทน์วันนี้ มาดู รูปดอกกุหลาบ วาเลนไทน์ สวยๆกันเถอะครับ ที่นี่เลยจ้า


ดอกไม้สวยทำให้จิตใจสบาย
















ทานตะวันเป็นพืชหมุนเวียนที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ไม่ต้องการ การดูแล เอาใจใส่มากนัก โดยเฉพาะถ้าปลูกปลายฤดูฝน 

•   ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียวสีดำ ควรปลูกระหว่างเดือน กันยายน พฤศจิกายน
•   ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนทรายควรปลูกระหว่างเดือนสิงหาคม ตุลาคม 
•   ในกรณีพื้นที่สามารถให้น้ำได้สามารถปลูกในฤดูแล้งได้อีกครั้งหนึ่งโดยปลูกระหว่างเดือน
    พฤศจิกายน  - กุมภาพันธ์ 


ขั้นตอนการปลูก 
1. เตรียมดิน โดยดายหญ้าให้เตียน หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 1.5 ตัน/ไร่ แล้วไถปรับสภาพพื้นดิน 
2. ยกร่องให้กว้าง 150 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 75 เซนติเมตร ขุดหลุมบนสันร่อง ระยะระหว่าง
    หลุม 45 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 16-20-0 หรือ 25-7-7 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ 
3. ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 0.8 กิโลกรัม/ไร่ หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบดินหนาประมาณ 3-5 
     เซนติเมตร  ให้แน่นพอสมควร
4. ใช้ยาคุมหญ้าประเภทอลาคอร์เมตลาคอร์ อัตรา 300-400 ซีซี/ไร่ หรือ 7-8 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 
    18-20 ลิตร  ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ด 
5. หลังจากปลูกไปแล้ว 5 - 10 วัน ให้ตรวจดูการงอก และการปลูกซ่อม หลังจากนั้นอีก 5-8 วัน 
    ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น/หลุม โดยเลือกถอนต้นที่มีขนาดเล็กหรือผิดปกติก่อน 
6. เมื่ออายุ 25 - 30 วัน ให้พูนดินโคนต้นและกำจัดวัชพืช พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 
    15-20 กิโลกรัม/ไร่ ห่างจากโคนต้น 20เซนติเมตร (อย่าให้ถูกใบ) แล้วกลบปุ๋ย 
7. ประมาณ 100 - 110 วัน กลีบประดับรอบดอกจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลให้เก็บ เกี่ยว
    โดยการตัดทั้งดอกนำมาตากแดด ให้แห้ง 1 - 2 แดดก่อน แล้วกระเทาะเมล็ดโดยการนวด ด้วย
    เครื่องนวดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสง หรือใช้เครื่องสีข้าวฟ่างก็ได้แล้วแต่ความสะดวก (กรณีไม่มีอุปกรณ์
    และไม่ต้องการลงทุนเอง ก็สามารถจ้างเขาทำได้) 
8. ทำความสะอาดเมล็ดให้ดี เก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด กันฝนและแมลงศัตรูได้ ความชื้น ที่จะ
    เก็บเมล็ดไว้ควรมีไม่เกิน 10 % 


การให้น้ำ 
        ทานตะวันต้องการน้ำพอสมควรในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต ถ้าปลูกปลาย ฤดูฝนอาจไม่จำ เป็นต้องให้น้ำ แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้งควรรดน้ำช่วงระยะ 1 เดือนแรก และ ระยะ 50 วัน(ช่วงมีดอก) ปัญหาในการปลูกทานตะวัน ปัญหาเรื่องเมล็ดเน่าเสียหาย เนื่องจากทานตะวันมีดอกใหญ่เมื่อเมล็ดแก่ ดอกจะห้อยลง และด้านหลังของดอกจะเป็นแอ่ง เมื่อฝนตก น้ำฝนจะขังอยู่ ทำให้เกิดการเน่าและเมล็ด เสียหาย ป้องกันได้โดยปลูกในช่วงปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือน สิงหาคม-มกราคม ปัญหาเรื่องแมลง ได้แก่ 
•  ผีเสื้อกลางคืน ป้องกันโดยใช้ยาฟูราดาน F3, ไพดริน 
•  เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ป้องกันโดยใช้ยาอะโซดริน อัตรา 15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร/ไร่ หรือ ใช้เซพวิน 3 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร/ไร่ 

ตลาด/แหล่งจำหน่าย 
ขายส่งให้กับบริษัทผลิตน้ำมันพืช หรือขายส่งให้พ่อค้าแม่ค้าคนกลาง 

สถานที่ให้คำปรึกษา 
กองส่งเสริมพืชไร่นา กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 940-6128 สถานที่ฝึกอบรม สำนักงานเกษตรจังหวัดหรืออำเภอ 

ข้อแนะนำ 
1. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรเป็นพันธุ์ลูกผสม (แปซิฟิค 33) เพราะเป็น พันธุ์ที่ติดเมล็ดได้ดี มีอัตรา
    การงอกสูงเกิน กว่า 80% ให้ผลผลิตประมาณ 400-500กิโลกรัม/ไร่ สามารถ
    ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี