วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ดอกไม้สวยทำให้จิตใจสบาย
















ทานตะวันเป็นพืชหมุนเวียนที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ไม่ต้องการ การดูแล เอาใจใส่มากนัก โดยเฉพาะถ้าปลูกปลายฤดูฝน 

•   ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียวสีดำ ควรปลูกระหว่างเดือน กันยายน พฤศจิกายน
•   ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนทรายควรปลูกระหว่างเดือนสิงหาคม ตุลาคม 
•   ในกรณีพื้นที่สามารถให้น้ำได้สามารถปลูกในฤดูแล้งได้อีกครั้งหนึ่งโดยปลูกระหว่างเดือน
    พฤศจิกายน  - กุมภาพันธ์ 


ขั้นตอนการปลูก 
1. เตรียมดิน โดยดายหญ้าให้เตียน หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 1.5 ตัน/ไร่ แล้วไถปรับสภาพพื้นดิน 
2. ยกร่องให้กว้าง 150 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 75 เซนติเมตร ขุดหลุมบนสันร่อง ระยะระหว่าง
    หลุม 45 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 16-20-0 หรือ 25-7-7 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ 
3. ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 0.8 กิโลกรัม/ไร่ หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบดินหนาประมาณ 3-5 
     เซนติเมตร  ให้แน่นพอสมควร
4. ใช้ยาคุมหญ้าประเภทอลาคอร์เมตลาคอร์ อัตรา 300-400 ซีซี/ไร่ หรือ 7-8 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 
    18-20 ลิตร  ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ด 
5. หลังจากปลูกไปแล้ว 5 - 10 วัน ให้ตรวจดูการงอก และการปลูกซ่อม หลังจากนั้นอีก 5-8 วัน 
    ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น/หลุม โดยเลือกถอนต้นที่มีขนาดเล็กหรือผิดปกติก่อน 
6. เมื่ออายุ 25 - 30 วัน ให้พูนดินโคนต้นและกำจัดวัชพืช พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 
    15-20 กิโลกรัม/ไร่ ห่างจากโคนต้น 20เซนติเมตร (อย่าให้ถูกใบ) แล้วกลบปุ๋ย 
7. ประมาณ 100 - 110 วัน กลีบประดับรอบดอกจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลให้เก็บ เกี่ยว
    โดยการตัดทั้งดอกนำมาตากแดด ให้แห้ง 1 - 2 แดดก่อน แล้วกระเทาะเมล็ดโดยการนวด ด้วย
    เครื่องนวดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสง หรือใช้เครื่องสีข้าวฟ่างก็ได้แล้วแต่ความสะดวก (กรณีไม่มีอุปกรณ์
    และไม่ต้องการลงทุนเอง ก็สามารถจ้างเขาทำได้) 
8. ทำความสะอาดเมล็ดให้ดี เก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด กันฝนและแมลงศัตรูได้ ความชื้น ที่จะ
    เก็บเมล็ดไว้ควรมีไม่เกิน 10 % 


การให้น้ำ 
        ทานตะวันต้องการน้ำพอสมควรในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต ถ้าปลูกปลาย ฤดูฝนอาจไม่จำ เป็นต้องให้น้ำ แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้งควรรดน้ำช่วงระยะ 1 เดือนแรก และ ระยะ 50 วัน(ช่วงมีดอก) ปัญหาในการปลูกทานตะวัน ปัญหาเรื่องเมล็ดเน่าเสียหาย เนื่องจากทานตะวันมีดอกใหญ่เมื่อเมล็ดแก่ ดอกจะห้อยลง และด้านหลังของดอกจะเป็นแอ่ง เมื่อฝนตก น้ำฝนจะขังอยู่ ทำให้เกิดการเน่าและเมล็ด เสียหาย ป้องกันได้โดยปลูกในช่วงปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือน สิงหาคม-มกราคม ปัญหาเรื่องแมลง ได้แก่ 
•  ผีเสื้อกลางคืน ป้องกันโดยใช้ยาฟูราดาน F3, ไพดริน 
•  เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ป้องกันโดยใช้ยาอะโซดริน อัตรา 15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร/ไร่ หรือ ใช้เซพวิน 3 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร/ไร่ 

ตลาด/แหล่งจำหน่าย 
ขายส่งให้กับบริษัทผลิตน้ำมันพืช หรือขายส่งให้พ่อค้าแม่ค้าคนกลาง 

สถานที่ให้คำปรึกษา 
กองส่งเสริมพืชไร่นา กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 940-6128 สถานที่ฝึกอบรม สำนักงานเกษตรจังหวัดหรืออำเภอ 

ข้อแนะนำ 
1. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรเป็นพันธุ์ลูกผสม (แปซิฟิค 33) เพราะเป็น พันธุ์ที่ติดเมล็ดได้ดี มีอัตรา
    การงอกสูงเกิน กว่า 80% ให้ผลผลิตประมาณ 400-500กิโลกรัม/ไร่ สามารถ
    ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น